ทฤษฎีและงานวิจัี่ ยท...

11
บทที2 ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวของ 2.1 ทฤษฎีที่เกี่ยวของ ในที่นี้แบงออกเปน 3 กลุมใหญๆ คือทฤษฎีที่เกี่ยวกับพฤติกรรม ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการออม และแบบจําลองทางเลือกตามลําดับ โดยมีรายละเอียดดังตอไปนี2.1.1 ทฤษฎีที่เกี่ยวกับพฤติกรรม ประกอบไปดวย ความหมายของพฤติกรรม องคประกอบ ของพฤติกรรม และวิธีการศึกษาพฤติกรรม โดยมีรายละเอียดดังนี พฤติกรรม สงวน สุทธิเลิศอรุณ (2532, หนา 46) ไดใหความหมายของพฤติกรรมวา หมายถึง กิริยาอาการ บทบาท ลีลา ทาทาง การประพฤติปฏิบัติ การกระทําที่แสดงออกใหปรากฏ สัมผัสได ดวยประสาทสัมผัสทางใดทางหนึ่งใน 5 ทวาร คือ โสตสัมผัส จักษุสัมผัส ชิวหาสัมผัส ฆานสัมผัส และทางผิวหนังหรือมิฉะนั้นก็สามารถวัดไดดวยเครื่องมือ องคประกอบของพฤติกรรม ครอนบาช (Cronbach, 1963 อางถึงใน กันยา สุวรรณแสง, 2532, หนา 68-70) ไดให ลักษณะของพฤติกรรมของมนุษยวามีองคประกอบ 7 ประการไดแก 1. มีเปาหมายหรือมีความตองการ 2. ความพรอมเปนระดับความสามารถในการทําเพื่อตอบสนองความตองการของตน 3. สถานการณ หมายถึงเหตุการณหรือโอกาสในการกระทํากิจการใดกิจการหนึ่ง 4. การตีความ เปนการพิจารณา เพื่อหาวิธีการตอบสนองความตองการ 5. การตอบสนอง เปนการกระทํากิจกรรมตาง ตามที่พิจารณาตัดสินใจ 6. ผลที่เกิดขึ้น เปนสิ่งที่ประจักษสอดคลอง หรือไมสอดคลองกับการคาดหวัง 7. ปฏิกิริยาตอการผิดหวัง เปนกิริยาที่เกิดขึ้นหลังจากไมสอดคลองกับความตองการ ทําใหตองกลับไปตีความใหม เพื่อเลือกวิธีการตอบสนองความตองการใหประสบผลสําเร็จ พฤติกรรมจะสมบูรณและสิ้นสุดเมื่อมนุษยไดรับผลตามความคาดหวัง ถายังไมสมหวังก็จะมี ปฏิกิริยาตอไปอีก

Upload: others

Post on 16-Apr-2020

7 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: ทฤษฎีและงานวิจัี่ ยท ยวของี่เกcmuir.cmu.ac.th/bitstream/6653943832/11381/5/econ0854jk... · 2014-09-18 · 8 บทที่

  8

บทที่ 2

ทฤษฎีและงานวิจัยท่ีเกี่ยวของ

2.1 ทฤษฎีท่ีเก่ียวของ

ในท่ีนี้แบงออกเปน 3 กลุมใหญๆ คือทฤษฎีท่ีเกี่ยวกับพฤติกรรม ทฤษฎีท่ีเกี่ยวกับการออม และแบบจําลองทางเลือกตามลําดับ โดยมีรายละเอียดดังตอไปนี้

2.1.1 ทฤษฎีท่ีเก่ียวกับพฤติกรรม ประกอบไปดวย ความหมายของพฤติกรรม องคประกอบของพฤติกรรม และวิธีการศึกษาพฤติกรรม โดยมีรายละเอียดดังนี้

พฤติกรรม

สงวน สุทธิเลิศอรุณ (2532, หนา 46) ไดใหความหมายของพฤติกรรมวา หมายถึง กิริยาอาการ บทบาท ลีลา ทาทาง การประพฤติปฏิบัติ การกระทําท่ีแสดงออกใหปรากฏ สัมผัสไดดวยประสาทสัมผัสทางใดทางหนึ่งใน 5 ทวาร คือ โสตสัมผัส จักษุสัมผัส ชิวหาสัมผัส ฆานสัมผัส และทางผิวหนังหรือมิฉะนั้นก็สามารถวัดไดดวยเคร่ืองมือ

องคประกอบของพฤติกรรม

ครอนบาช (Cronbach, 1963 อางถึงใน กันยา สุวรรณแสง, 2532, หนา 68-70) ไดใหลักษณะของพฤติกรรมของมนุษยวามีองคประกอบ 7 ประการไดแก

1. มีเปาหมายหรือมีความตองการ

2. ความพรอมเปนระดับความสามารถในการทําเพื่อตอบสนองความตองการของตน

3. สถานการณ หมายถึงเหตุการณหรือโอกาสในการกระทํากิจการใดกิจการหนึ่ง

4. การตีความ เปนการพิจารณา เพื่อหาวิธีการตอบสนองความตองการ

5. การตอบสนอง เปนการกระทํากิจกรรมตาง ๆ ตามท่ีพิจารณาตัดสินใจ

6. ผลท่ีเกิดข้ึน เปนส่ิงท่ีประจักษสอดคลอง หรือไมสอดคลองกับการคาดหวัง

7. ปฏิกิริยาตอการผิดหวัง เปนกิริยาท่ีเกิดข้ึนหลังจากไมสอดคลองกับความตองการทําใหตองกลับไปตีความใหม เพื่อเลือกวิธีการตอบสนองความตองการใหประสบผลสําเร็จพฤติกรรมจะสมบูรณและส้ินสุดเม่ือมนุษยไดรับผลตามความคาดหวัง ถายังไมสมหวังก็จะมีปฏิกิริยาตอไปอีก

Page 2: ทฤษฎีและงานวิจัี่ ยท ยวของี่เกcmuir.cmu.ac.th/bitstream/6653943832/11381/5/econ0854jk... · 2014-09-18 · 8 บทที่

  8

วิธีการศึกษาพฤติกรรม วิธีการศึกษาพฤติกรรม คือ การนํามาใชเพื่อแสวงหาขอความรูตางๆ เกี่ยวกับ

พฤติกรรมวา มนุษยมีพฤติกรรมอะไรบาง และทําไมจึงมีพฤติกรรมเชนนั้น นอกจากนี้ยังพยายามคาดการณหรือทํานายความตองการของมนุษย และพฤติกรรมท่ีอาจจะเกิดข้ึน โดยมีจุดมุงหมายเพื่อใหเกิดประโยชนสูงสุดตอบุคคลและสังคมสวนรวม ซ่ึงวิชาใดๆท่ีมีความเปนศาสตรนั้น ลวนแลวแตนําวิธีการทางวิทยาศาสตรมาใชในการแสวงหาขอความรูท้ังส้ิน วิธีนี้ประกอบดวย 5 ข้ันตอนคือ

1. การกําหนดปญหา

2. การตั้งสมมติฐาน

3. การรวบรวมขอมูล

4. การวิเคราะหขอมูล

5. การสรุปผล

2.1.2 ทฤษฎีท่ีเก่ียวของกับการออม ประกอบไปดวย การออมทรัพย แนวคิดของการออม ปจจัยกําหนดการออม การออมกับกระแสรายไดและรายจาย ตัววัดคาพฤติกรรมการออม และการออมกับทฤษฎีการบริโภค โดยมีรายละเอียด ดังนี้

การออมทรัพย (Saving) เงินออม (Saving) ก็คือสวนของรายไดท่ีเหลือจากการบริโภค ดังนั้น Y = C + S (2.1) S = Y - C (2.2) เม่ือทราบขอมูลเกี่ยวกับรายไดและการใชจายบริโภค ก็จะสามารถหาความสัมพันธ

ระหวางรายได และปริมาณเงินออมได เม่ือนําความสัมพันธระหวางเงินออมและรายไดมาเขียนเปนกราฟจะไดเสนฟงกชันการออม (Saving Function) หรือบางทีเรียกวาความโนมเอียงท่ีจะออมทรัพย (Propensity to Save)

ถาสมมติ การใชจายบริโภคที่ข้ึนอยูกับรายไดมีความสัมพันธเปนเสนตรง มีรูปสมการ คือ

C = a + bY (2.3)

Page 3: ทฤษฎีและงานวิจัี่ ยท ยวของี่เกcmuir.cmu.ac.th/bitstream/6653943832/11381/5/econ0854jk... · 2014-09-18 · 8 บทที่

  9

โดยท่ี a คือ จุดตัดทางแกนตั้งของ ฟงกชันการใชจายบริโภค ซ่ึงแสดงวาเม่ือ รายได (Y) = 0 การใชจายเพ่ือการบริโภคเทากับ a ดังนั้น a จึงเปนการบ ริ โ ภ ค โ ด ย อั ต โน มั ติ ซ่ึ ง ไ ม ข้ึ น อ ยู กั บ ร า ย ไ ด ( autonomous consumption)

b คือ ความชันของเสนฟงกชันการบริโภค หรือความโนมเอียงท่ีจะใชจาย บริโภคหนวยเพิ่ม (MPC)

bY คือ การบริโภคท่ีข้ึนอยูกับรายได (induced consumption) กลาวคือเม่ือ Y เพิ่ม C จะเพิ่มดวย

ดังนั้น สมการของฟงกชันการออม (Saving Function) คือ จาก Y = C + S S = Y + C S = Y – (a + bY) (2.4) S = -a + (1 – b)Y (2.5) โดยท่ี -a คือ จุดตัดทางแกนต้ังของฟงกชันการออมทรัพยซ่ึงแสดงวาเม่ือ

รายได (Y) = 0 การออมทรัพย (S) = -a 1-b คือ สัดสวนของการออมทรัพย ท่ี เปล่ียนแปลงไป ตอการ

เปล่ียนแปลงของรายได (S/Y) หรือการเปล่ียนแปลงของการออม เม่ือรายไดเปล่ียนแปลงไป 1 หนวย

รูป 2.1 แสดงฟงกชันการออม

ท่ีมา: อัญชลี คอคงคา และวรณี จิเจริญ (2543)

+

0

-

-a

S = -a + (1-b)Y

รายได(Y)

การออม(S)

Page 4: ทฤษฎีและงานวิจัี่ ยท ยวของี่เกcmuir.cmu.ac.th/bitstream/6653943832/11381/5/econ0854jk... · 2014-09-18 · 8 บทที่

  10

ฟงกชันการออม จะมีลักษณะทอด ข้ึนจากซายไปขวา มี Slope เปนบวก แสดงวา เม่ือรายไดเพิ่มข้ึน จํานวนเงินออมก็จะเพ่ิมข้ึนดวย และเม่ือรายไดลดลง ปริมาณเงินออมก็จะลดลง

เแนวคิดของการออม

การออม คือ การเก็บสะสมเงินทีละเล็กทีละนอยใหพอกพูนข้ึนเม่ือเวลาผานไป ซ่ึงการออมสวนใหญมักจะอยูในรูปของเงินฝากกับธนาคาร หรือบริษัทเงินทุน โดยไดรับดอกเบ้ียเปนผลตอบแทน เม่ือเรามีเงินเหลือใชเปนประจําทุกเดือน ส่ิงท่ีเราควรคํานึงถึง คือเราจะจัดการกับเงินเหลือใชนั้นอยางเหมาะสมไดอยางไร เพื่อใหงอกเงยเพิ่มมากข้ึน โดยท่ัวไปเรามักจะเก็บในรูปเงินสดหรือฝากธนาคาร บริษัทเงินทุน ซ่ึงเราจะเรียกวิธีการนี้วา "การออม" หรือถาใชวิธีการซ้ือทองรูปพรรณ ทองแทง หรือท่ีดินเก็บไว ซ้ือพันธบัตรรัฐบาล หุนกู หุน หรือหลักทรัพยอ่ืนๆ ก็จะเขาลักษณะท่ีเรียกวา "การลงทุน" เคร่ืองมือสําหรับการออมที่รูจักกันดี ไดแก บัญชีเงินฝากออมทรัพย บัญชีเงินฝากประจําและบัญชีเงินฝากธนาคารท่ีถูกมองวามีความสะดวก ปลอดภัย และม่ันคง แตในอีกทางหนึ่งผลตอบแทน (ดอกเบ้ีย) จากการฝากเงินก็อาจไมสูงนัก ท้ังนี้ ดวยความท่ีระบบเงินฝากมีความเส่ียงตํ่า ผลตอบแทนท่ีเปนตัวเงินจากการฝากเงินจึงอยูในระดับท่ีไมสูงนัก แตเปนการตอบแทนความม่ันคงของการเก็บเงินนั้นไวแทน ดังนั้น คนสวนใหญจึงคุนเคยกับการจัดสรรเงินไวในระบบเงินฝาก เพื่อสามารถเบิกถอนออกมาใชไดสะดวกในยามท่ีตองการนั่นเอง

ปจจัยกําหนดการออม ประกอบไปดวย สมมติฐานรายไดสมบูรณ สมมติฐานวัฏจักรชีวิต ทฤษฎีของโทบิน: ความตองการถือทรัพยท่ีมีสภาพคลอง มูลคาอํานาจซ้ือของเงินในปจจุบัน สมมติฐานทรัพยสินสุทธิ และสมมติฐานอัตราดอกเบ้ีย โดยมีรายละเอียด ดังนี้

- สมมติฐานรายไดสมบูรณ

คาใชจายในการบริโภคจะแปรผันตรงกับระดับรายได เม่ือรายไดเพ่ิมข้ึนจะทําใหเกิดคาใชจายในการบริโภคเพิ่มข้ึน แตจะเพิ่มในสัดสวนท่ีนอยกวาระดับรายไดท่ีเพิ่มข้ึน หรือเม่ือรายไดเพ่ิมข้ึนจะทําใหผลตางระหวางรายไดกับคาใชจายมากขึ้น จากคํากลาวขางตนสรุปไดวา เม่ือรายไดเพ่ิมข้ึนจะทําใหระดับการออมเพิ่มข้ึนดวย หรือระดับรายไดแปรผันตรงกับระดับการออม (Keynes, 1951 อางถึงใน นยนา พัฒนะณรงคเลิศ, 2548)

- สมมติฐานวัฏจักรชีวิต

สาระสําคัญของสมมติฐานวัฎจักรชีวิต คือ การเปรียบเทียบระหวางระดับรายไดกับวัฏจักรชีวิตของคน โดยในชวงเร่ิมตนของชีวิตของคนระดับรายไดจะตํ่ากวาคาใชจายในการบริโภค ทําใหระดับการออมเปนลบเม่ือเขาสูวัยกลางคน ระดับรายไดจะเพิ่มข้ึนจนกระท่ัง

Page 5: ทฤษฎีและงานวิจัี่ ยท ยวของี่เกcmuir.cmu.ac.th/bitstream/6653943832/11381/5/econ0854jk... · 2014-09-18 · 8 บทที่

  11

มากกวาคาใชจาย ทําใหเกิดการออมเพิ่มข้ึน และ เมื่ อ เข า สู วั ยชรา ระดับรายไดจะลดลงจนกระทั่งนอยกวาคาใชจาย มีผลทําใหระดับการออมลดลงจนเปนลบอีกคร้ัง กลาวไดวาชวงอายุมีความสัมพันธกับระดับการออมของแตละบุคคล (Ando and Modigliani, 1960 อางถึงใน นยนา พัฒนะณรงคเลิศ, 2548)

- ทฤษฎีของโทบิน: ความตองการถือทรัพยท่ีมีสภาพคลอง (Liquidity Preference Theory)

โทบิน (Tobin, 1947 อางถึงใน จรัลวัฒน คมเศวต, 2547) กลาววาระดับความเส่ียงและผลตอบแทนท่ีไดรับในการเลือกถือสินทรัพยตางๆ ตามทฤษฎีกลาววา คนจะเลือกถือเงินสดและพันธบัตรไปพรอมๆ กันมากกวาท่ีจะถือเงินสดเพียงอยางเดียว เพื่อเปนการเพ่ิมผลตอบแทนหรือเพ่ือเปนการกระจายความเส่ียง ซ่ึงสามารถนํามาใชอธิบายพฤติกรรมการออมไดวา บุคคลเม่ือมีรายไดหรือเงินออมสูงข้ึนมาก บุคคลนั้นจะมีแนวโนมท่ีจะลงทุนในหลักทรัพยหรือหุนมากตามไปดวย

- มูลคาอํานาจซ้ือของเงินในปจจุบัน

พงศกร รัตนานุกรณ (2551 อางถึงใน จรัลวัฒน คมเศวต, 2547) ผูออมจะออมเงินมากข้ึนเม่ือคิดวาอํานาจซ้ือของเงินในอนาคตสูงกวาในปจจุบัน ยกตัวอยางเชน ผูออมคาดการณวาราคาสินคาและบริการในระยะเวลาอีก 2-3 ปหลังจากน้ีจะมีราคาลดลง หมายความวาเงินจํานวนหนึ่งหนวยสามารถซ้ือสินคาและบริการไดมากข้ึน จะทําใหมีการออมเงินมากข้ึน ในทางตรงขามหากผูบริโภคคาดการณวาราคาสินคาและบริการในอนาคตจะสูงข้ึนจนความพอใจท่ีไดจากผลตอบแทนจากการออมต่ํากวาความพอใจที่จะไดรับ หากนําไปซ้ือสินคาและบริการในปจจุบันผูบริโภคก็จะลดการออมลง

- สมมติฐานทรัพยสินสุทธิ (Net Asset)

ทรัพยสินท่ีครัวเรือนครอบครองมีอิทธิพลตอการบริโภค ในการพิจารณาทรัพยสินจะใหความสนใจทรัพยสินสุทธิ กลาวคือ เปนมูลคาทรัพยสินท่ีหักดวยหนี้สินและทรัพยสินอาจอยูในรูปของเงินสด เงินฝากธนาคาร ธนบัตร รถยนต บาน ท่ีดิน เคร่ืองประดับ เปนตน ครัวเรือนท่ีมีทรัพยสินสุทธิมากจะทําใหการบริโภคสูงกวาครัวเรือนท่ีไมมีทรัพยสิน นอกจากนี้ทรัพยสินบางชนิดท่ีเปล่ียนเปนตัวเงินไดงาย มีสภาพคลองสูง บางชนิดเปล่ียนเปนตัวเงินไดยาก ครัวเรือนท่ีครอบครองทรัพยสินท่ีมีสภาพคลองสูง จึงอาจใชจายในการบริโภคไดสูงกวาครัวเรือนท่ีครอบครองทรัพยสินท่ีมีสภาพคลองตํ่า แมวาจะมีมูลคาทรัพยสินสุทธิเทากันก็ตาม

Page 6: ทฤษฎีและงานวิจัี่ ยท ยวของี่เกcmuir.cmu.ac.th/bitstream/6653943832/11381/5/econ0854jk... · 2014-09-18 · 8 บทที่

  12

- สมมติฐานอัตราดอกเบ้ีย

นักเศรษฐศาสตรสํานักคลาสสิกสันนิษฐานวา การบริโภคเปนฟงกช่ันกับการออม เม่ืออัตราดอกเบ้ียสูงข้ึนจะเปนการสงเสริมการออม และกีดกันการลงทุน เพราะผูบริโภคจะนําเงินไปฝากมากข้ึน ในขณะท่ีนักเศรษฐศาสตรในยุคหลังกลาววา หากอัตราดอกเบ้ียสูงข้ึนแลวผูบริโภคจะฝากเงินนอยลง เพราะอัตราดอกเบ้ียท่ีสูงสามารถทําใหเขาบรรลุเปาหมายในการฝากเงินได โดยฝากเงินในจํานวนท่ีลดลง ดังนั้นอัตราดอกเบ้ียจึงเปนปจจัยท่ีสําคัญมากปจจัยหนึ่งในการศึกษาพฤติกรรามการออมของบุคคล

การออมกับกระแสรายไดและรายจาย

การออมนั้น หากจะกลาวใหเต็มๆ ก็คือการออมทรัพย ซ่ึงการออมทรัพยของครัวเรือนจะมีความสัมพันธใกลชิดกับรายไดท่ีสามารถจับจายใชสอยไดจริงและการบริโภคของครัวเรือนอยางมาก ดวยเหตุท่ีวาหลังจากท่ีครัวเรือนไดรับรายไดมาแลว เม่ือนําไปหักภาษีออก รายไดดังกลาวถือเปนรายไดท่ีครัวเรือนสามารถนําไปจับจายใชสอยไดจริง ครัวเรือนจะจัดสรรรายไดสวนนี้ไปใชเพื่อการบริโภค สวนท่ีเหลือจึงคอยเก็บออมไวเปนเงินสะสม เรียกการออมเงินสวนท่ีเหลือนี้วา "การออมทรัพย" หากพิจารณาดูจะพบวาการออมเปรียบเปนสวนร่ัวของวงจรการหมุนเวียนของกระแสรายได ซ่ึงเปนผลใหกระแสรายไดในชวงระยะเวลาใดเวลาหน่ึงมีคาไมเทากับกระแสรายจายในชวงเวลาน้ัน สามารถเขียนสมการแสดงความสัมพันธระหวางรายไดท่ีสามารถจับจายใชสอยไดจริง คาใชจาย และปริมาณการออมไดดังนี้

Y = S + C (2.6)

Y คือ รายไดท่ีสามารถจับจายใชสอยไดจริง

C คือ คาใชจายเพื่อการบริโภค

S คือ ปริมาณการออม

ตัววัดคาพฤติกรรมการออม

สําหรับตัววัดคาพฤติกรรมการออมที่นิยมใชกัน คือ APS (average propensity to save: ความโนมเอียงเฉล่ียในการออม) เปนคาท่ีแสดงใหเห็นวารายได 1 หนวย ครัวเรือนจะทําการออมเก็บไวเทาไร บงช้ีใหทราบถึงพฤติกรรมในการจัดสรรรายไดในการออมของครัวเรือน และ MPS (marginal propensity to save: ความโนมเอียงหนวยสุดทายในการออม) เปนคาท่ีแสดงใหเห็นวา เม่ือรายไดเปล่ียนแปลงไป 1 หนวย ปริมาณการออมจะเปล่ียนแปลงไปเทาไร บงช้ีใหทราบถึงผลของการเปล่ียนแปลงระดับรายไดท่ีกระทบตอพฤติกรรมการออมวามีมากนอยเพียงใด

Page 7: ทฤษฎีและงานวิจัี่ ยท ยวของี่เกcmuir.cmu.ac.th/bitstream/6653943832/11381/5/econ0854jk... · 2014-09-18 · 8 บทที่

  13

การออมกับทฤษฎีการบริโภค

จากท่ีกลาวไปแลววาการบริโภคและการออมเปนของคูกัน ดังนั้น การออมจึงมีความเกี่ยวของกับทฤษฎีการบริโภคอยางใกลชิด

- ตามแนวคิดของ James S. Duesenberry เช่ือวาครัวเรือนท่ีมีระดับคาใชจายเพ่ือการบริโภค และระดับรายไดอยูในระดับหนึ่งแลวจะเปนการยากท่ีจะทําใหผูบริโภคลดระดับคาใชจายเพื่อการบริโภคใหต่ําลงกวาเดิมเม่ือระดับรายไดเปรียบเทียบกับระดับรายไดท่ีเคยไดรับสูงสุดลด

- ตามแนวคิดของ Franco Modigliani, Albert Ando และ Richard Brumberg เช่ือวาปริมาณการใชจายเพื่อการบริโภคในชวงเวลาหน่ึงจะข้ึนอยูกับการคาดคะเนของรายไดตลอดชวงอายุขัยท้ังในอดีต ปจจุบัน และอนาคต หากพิจารณาการกระจายรายไดและปริมาณการใชจายเพ่ือการบริโภคในวัฏจักรชีวิตท่ีควรจะเปนของบุคคลหน่ึงๆ ดังรูป

รูป 2.2 การใชจายเพื่อการบริโภคในวัฎจักรชีวิต

ท่ีมา: http://www.fpo.go.th/s-i/source/eco/eco6.htm

จากรูป 2.1 จะไดเห็นวาในชวงชีวิตของบุคคลขณะท่ีมีอายุนอย จะมีระดับรายไดอยูในระดับตํ่า และจะมีรายไดสูงข้ึนเม่ือมีอายุมากข้ึน ตอมาเม่ือเขาสูวัยสูงอายุก็จะกลับมีรายไดลดลงอีกคร้ัง การกระจายรายไดตลอดชวงอายุขัยจึงมีลักษณะเปนไปตามเสน yy สวนปริมาณการใชจายเพื่อการบริโภคของบุคคลจะสูงข้ึนเปนลําดับตามอายุขัยโดยมีลักษณะของการกระจายปริมาณการใชจายเพ่ือการบริโภคตามเสน cc เม่ือทําการเปรียบเทียบกันระหวางเสน yy และ cc แลว จะพบวาในชวงตนของชีวิต บุคคลจะมีรายไดไมเพียงพอตอการบริโภค ดังนั้นบุคคลจึงตองประพฤติตนเปนผูกอหนี้ ตอมาในชวงกลางของชีวิตจึงจะเร่ิมท่ีจะมีรายไดเหลือจายจนสามารถชดใชหนี้เดิมได และเก็บเงินสะสมไวสําหรับชวงปลายของชีวิต เงินสะสมสวนนี้ก็คือสวนของเงินออมนั่นเอง

Page 8: ทฤษฎีและงานวิจัี่ ยท ยวของี่เกcmuir.cmu.ac.th/bitstream/6653943832/11381/5/econ0854jk... · 2014-09-18 · 8 บทที่

  14

- ตามแนวคิดของ Milton Friedman เช่ือวาครัวเรือนจะมีพฤติกรรมในจัดสรรรายไดเพื่อการบริโภคโดยอิงกับรายไดในระยะยาว ท่ีคาดวาจะไดรับ พรอมท้ังไดกําหนดใหรายไดประกอบไปดวย 2 สวน คือ รายไดถาวร และรายไดช่ัวคราว ซ่ึงตามทฤษฎีนี้ปริมาณการใชจายเพ่ือการบริโภคของครัวเรือนจะขึ้นอยูกับรายไดถาวร โดยครัวเรือนจะไมทําการบริโภคในสวนของรายไดช่ัวคราว ดังนั้นจากการที่การออมเปนเงินสวนเหลือท่ีไมไดทําการบริโภคแลว จึงสามารถเกิดไดท้ังจากสวนของรายไดถาวรและรายไดช่ัวคราว

2.1.3 แบบจําลองทางเลือกตามลําดับ (Ordered - response model)

แบบจําลองทางเลือกตามลําดับ (อารี วิบูลยพงศ, 2549) สมมติใหมีทางเลือกอยูท้ังส้ิน m ทางเลือกหรือมีเหตุการณท่ีนับไดเปนลําดับ ตัวแปรทางเลือก (yt) ท่ีสังเกตไดคือผลจากการตัดสินใจแลวของผูซ้ือ โดยท่ี yt มีคา 1, 2, ..,m โดยท่ีในความเปนจริงแลวการท่ี yt จะมีคาเปน 1, 2 หรือ m นั้นมีโอกาสที่จะเกิดข้ึนดวยคาความนาจะเปน (probability) คาหนึ่ง ดังนั้นแบบจําลองท่ีแทจริงจึงมีตัวแปรตามเปนตัวแปรแฝงท่ีสังเกตไมได ดังนั้นอาจกลาวไดวาสําหรับหนวยสังเกต i ใดๆ

yi* = xt' + ut (2.7) โดย yi = j ถา j-1 yi* j

คาความนาจะเปนท่ีทางเลือก j จะถูกเลือกคือคาความนาจะเปนท่ีตัวแปรแฝง yi* อยูระหวางชวงเขต j-1 และ j สมมติวา ut มีการแจกแจงแบบปกติมาตรฐานเหมือนกันทุก i และเปนอิสระตอกัน (iid ) แบบจําลองท่ีจะใชก็คือ ordered- probit ถาการแจกแจงอยูในรูป logistic แบบจําลองท่ีไดคือ ordered logit เม่ือใดท่ี m = 2 แบบจําลองจะกลับไปสูแบบจําลองสองทางเลือกดังเดิม สมมติตัวอยางของการบริโภคผักปลอดสารเคมี 3 ทางเลือก เราสามารถเขียนแบบจําลองตามลําดับไดดังนี ้

yt* = xt' + ut (2.8) โดย yt = 1 ถา yi* 0

= 2 ถา 0 yt*

= 3 ถา yt*

เม่ือ yt* แปลความวาเปนระดับความพอใจในการบริโภคผักปลอดสารเคมี สมการ (2.8) ถูกกําหนดคาข้ันตํ่าไวท่ี 0 (นั่นคือให yt* 0 ) นอกจากนี้ยังจําเปนท่ีจะตองกําหนดกรอบ

Page 9: ทฤษฎีและงานวิจัี่ ยท ยวของี่เกcmuir.cmu.ac.th/bitstream/6653943832/11381/5/econ0854jk... · 2014-09-18 · 8 บทที่

  15

ใหกับคา yt* ดวย (normalized scale ของ yt*) ดังนั้น ถา ut มีการแจกแจงปกติมาตรฐาน ut ~ iid N (0, 1) แลวความนาจะเปนท่ีไดคือ

p(yt = 1|xt ) = p( yt* 0 |xt = Φ (- xt*)) (2.9) p(yt = 2|xt ) = Φ ( - xi') - Φ (-xi')) (2.10) p(yt = 3|xt ) = p( yt* > |xt = 1 – Φ ( - xt*)) (2.11)

เม่ือ เปนพารามิเตอรท่ีรูคาและจะถูกประมาณคาพรอมกับ ดวยวิธี maximum likelihood คาสัมประสิทธ์ิ คือ คาท่ีอยูในแบบจําลอง yt* นั่นคือ เปนคาท่ีแสดงความสัมพันธกับตัวแปรแฝง (หรือความนาจะเปน) สมมติวาคา k มีเคร่ืองหมายบวก แสดงวาเม่ือคาตัวแปร xtk

เพิ่มข้ึน จะทําใหคา y* เพิ่มสูงข้ึนดวย ผลท่ีตามมาจะกระทบตอ y* ในกลุมอ่ืน เชน ความนาจะเปนท่ี yt = 3 จะเพิ่มข้ึนเม่ือความนาจะเปนท่ี yt= 1 ลดลง แตเปนท่ีสังเกตวาผลกระทบตอกลุมท่ีอยูตรงกลางจะตีความไดไมชัดเจน นั่นคือความนาจะเปนท่ี yt = 2 อาจเพิ่มข้ึนหรือลดลงก็ได

2.2 เอกสารและงานวิจัยท่ีเก่ียวของ

ดิเรก ปทมสิริวัฒน (2547) เปนการศึกษาถึงพฤติกรรมการออมของคนไทยในระดับครัวเรือน ผลการศึกษาพบวา รายไดของครัวเรือน ขนาดของครัวเรือน อายุ ภูมิภาค อาชีพของหัวหนาครัวเรือน และสถานะเศรษฐกิจและสังคมของหัวหนาครัวเรือน มีผลตอระดับพฤติกรรมการออมของครัวเรือนอยางมีนัยสําคัญ

ปยนุช ตูแกว (2549) เปนการศึกษาถึงรูปแบบการบริโภคและการออมของครัวเรือนในจังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงคเพื่อประมาณการคาใชจายในการบริโภคและการออมของจังหวัดเชียงราย และครัวเรือนจังหวัดเชียงราย รวมถึงศึกษารูปแบบการบริโภคและการออมของครัวเรือนในจังหวัดเชียงรายโดยใชการเก็บขอมูลปฐมภูมิ จากการสอบถามครัวเรือนจํานวน 624 ตัวอยาง และขอมูลทุติยภูมิจากโครงการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2537-2547 สํานักงานสถิติแหงชาติ และทําการวิเคราะหขอมูลโดยใชการวิเคราะหเชิงพรรณนา และสรางสมการเสนถดถอยเชิงซอนเพื่อประมาณการใชจายเพ่ือการบริโภคและการออมของจังหวัดเชียงราย จากการศึกษาสามารถประมาณโดยใชสมการประมาณคาใชจายในการบริโภคและการออม มีคาใชจายเพ่ือการบริโภคเฉล่ียประมาณ 99,457 บาทตอป และการออมเฉล่ียประมาณ 8,283 บาทตอป จากการเก็บขอมูลจากกลุมตัวอยางจํานวน 624 ครัวเรือน สามารถสรุปไดวาครัวเรือนมีเงินออมเฉล่ียสูงสุดประมาณ 178,299 บาท โดยครัวเรือนสวนใหญฝากเงินไวกับธนาคาร

Page 10: ทฤษฎีและงานวิจัี่ ยท ยวของี่เกcmuir.cmu.ac.th/bitstream/6653943832/11381/5/econ0854jk... · 2014-09-18 · 8 บทที่

  16

ศูนยวิจัย อุ บัติ เหตุแหงประเทศ (2552) ศึกษาการวิ เคราะหหาความสัมพันธของระดับความรุนแรงของอุบัติเหตุขางทางกับปจจัยตางๆนี้ ไดใชขอมูลอุบัติเหตุชุดเดียวกันกับการวิเคราะหท่ีผานมา โดยขอมูลอุบัติเหตุจํานวน 91,009 ราย จะถูกคัดเลือกเฉพาะอุบัติเหตุขางทาง ซ่ึงมีจํานวนท้ังหมด 13,083 ราย และนํามาใชในการวิเคราะหสวนนี้ เพ่ือหาความสัมพันธระหวางระดับความรุนแรงของอุบัติเหตุขางทางกับปจจัยตางๆท่ีเกี่ยวของ การวิเคราะหในข้ันตอนนี้ไดประยุกตใชการวิเคราะหทางสถิติแบบ Ordered Logistic Regression ซ่ึงการวิเคราะหดังกลาวถือเปนการวิเคราะหแบบ Multivariable อยางหน่ึง ซ่ึงจะใชสําหรับการวิเคราะหท่ีตัวแปรตามมีคาเปนแบบ Ordinal และในการวิเคราะหนี้ ระดับความรุนแรงของอุบัติเหตุขางทางจะเปนตัวแปรตาม (Dependent Variable) สามารถจําแนกออกเปน 3 ระดับ คือ อุบัติเหตุบาดเจ็บเล็กนอย อุบัติเหตุบาดเจ็บสาหัส และอุบัติเหตุท่ีมีผูเสียชีวิต โดยตัวแปรอิสระ คือ ผลตอระดับความรุนแรงของการเกิดอุบัติเหตุขางทาง ในการวิเคราะหทางสถิติแบบ Ordered Logistic Regression เพื่อหาความสัมพันธระหวางระดับความรุนแรงของอุบัติเหตุกับปจจัยตางๆ ซ่ึงผลการวิเคราะหการเกิดอุบัติเหตุขางทางรวมกับปจจัยตางๆ ท่ีมีผลตอการเกิดอุบัติเหตุยอมกอใหเกิดความแตกตางของระดับความรุนแรงของอุบัติเหตุ ดังนั้น ในการวิเคราะหหาความสัมพันธระหวางปจจัยท่ีมีผลตอระดับความรุนแรงของอุบัติเหตุขางทางจึงจําแนกระดับความรุนแรงของอุบัติเหตุออกเปน 3 ระดับคือ อุบัติเหตุท่ีมีผูบาดเจ็บเล็กนอย อุบัติเหตุท่ีมีผูบาดเจ็บสาหัส และอุบัติเหตุท่ีมีผูเสียชีวิต ซ่ึงผลการวิเคราะหขอมูลอุบัติเหตุขางทาง จํานวนท้ังส้ิน13,083 ราย พบวา ระดับความรุนแรงของอุบัติเหตุขางทางประเภทไมชนกับวัตถุส่ิงของ เชน อุบัติเหตุพลิกคว่ําสูงกวาอุบัติเหตุขางทาง ประเภทชนกับวัตถุส่ิงของ เชน ชนกับอุปกรณขางทางถึง 1.805 เทา นอกจากนี้อุบัติเหตุขางทางท่ีเกิดข้ึนในชวงเวลากลางคืนจะทําใหมีระดับความรุนแรงสูงกวาในชวงเวลากลางวันถึง 1.094 เทา เพราะในชวงเวลากลางคืนสามารถขับข่ีโดยใชความเร็วสูงได เนื่องจากปริมาณการจราจรที่ไมหนาแนน

กนิษฐภาตุ ละมูล (2553) จากงานวิจัยเร่ือง long-term saving in Thailand โดยคณะเศรษฐกรประจําธนาคารแหงประเทศไทย ท่ีไดนําเสนอในงานสัมมนาวิชาการประจําปพ.ศ. 2548 นั้น พบวา อัตราการออมของประเทศไทยในขณะนี้สูงเกินกวาอัตรารอยละ 25 ตามเกณฑของงานโฆษณาสงเสริมการออมช้ินนั้นไปแลว โดยอัตราการออมในป 2546 นี้อยูท่ีรอยละ 30.5 ของรายไดประชาชาติ แมวาอัตราการออมในระดับรอยละ 30 นี้จะถูกจัดวาเปนอัตราการออมในระดับสูง เม่ือเทียบกับอัตราการออมในประเทศอ่ืนๆ แลว แตคณะเศรษฐกรของธนาคารแหงประเทศไทยช้ีวา อัตราการออมของประเทศอยูในชวงขาลง เพราะประเทศไทยเคยมีอัตราการออมสูงสุดอยูท่ีระดับรอยละ 35.2 ของรายไดประชาชาติ ในป 2534 และนับจากปนั้นเร่ือยมา อัตราการออมก็มีแนวโนมท่ีจะปรับตัวลดลงโดยตลอด

Page 11: ทฤษฎีและงานวิจัี่ ยท ยวของี่เกcmuir.cmu.ac.th/bitstream/6653943832/11381/5/econ0854jk... · 2014-09-18 · 8 บทที่

  17

วรเวศม สุวรรณระดา (2553) ศึกษาปจจัย กําหนดอุปสงคตอบริการดูแลระยะยาวอยางเปนทางการ รูปแบบตางๆ ของผูสูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร ขอมูลท่ีใชเปนขอมูลจุลภาครวบรวมจากการสัมภาษณผูสูงอายุท่ีอาศัยในครัวเรือนในกรุงเทพมหานคร การศึกษาคร้ังนี้ไดใชขอมูลในสวนท่ีไดสอบถามผูสูงอายุถึงระดับของความต้ังใจท่ีจะใชบริการดูแลระยะยาวประเภทตางๆ ภายใตคาใชจายระดับตางๆ แบบจําลองท่ีใชเปนแบบจําลอง Ordered Logit ผลการศึกษายืนยันวา ปจจัยสวนบุคคล และครัวเรือน เชน ภาวะพึ่งพิงของผูสูงอายุ อัตราภาวะพ่ึงพิงของครัวเรือน ความสามารถในการผลิตบริการระยะยาวเองจะสงผลตออุปสงคของการดูแลระยะยาวอยางมีนัยสําคัญ ผูสูงอายุท่ีมีภาวะพึ่งพิงสูง ผูสูงอายุในครัวเรือนท่ีมีเด็ก และผูสูงอายุในสัดสวนมากหรือไมมีบุตรอยูในครัวเรือน หรืออาศัยอยูในขนาดของครัวเรือนท่ีมีขนาดเล็ก และมีแนวโนมตองการใชบริการดูแลระยะยาวประเภทตางๆ อีกท้ังยังพบวาปจจัยทางเศรษฐกิจก็มีผลตอความตองการใชบริการ ครัวเรือนท่ีมีรายไดของผูสูงอายุและรายไดครัวเรือนมากกวา พบวามีแนวโนมในการเลือกท่ีใชบริการมากข้ึน แตทวาปจจัยดานราคานั้น มีผลเชิงลบอยางมีนัยสําคัญตอเฉพาะบริการบางประเภทอันไดแก การจางผูดูแลจากศูนยจัดสงมาดูแลผูสูงอายุท่ีบานและบริการดูแลผูสูงอายุเฉพาะในชวงเวลากลางวันในสถาบัน นัยเชิงนโยบายของการศึกษาน้ีมีดังตอไปนี้ ผูมีสวนเกี่ยวของทางนโยบาย เชน กรุงเทพมหานคร ควรผลักดันใหเกิดบริการดูแลระยะยาวสําหรับผูสูงอายุท้ังท่ีบานและในสถาบันเพิ่มมากข้ึนเพื่อตอบสนองตอความตองการที่จะมีเพิ่มข้ึนในอนาคตอันเนื่องมาจากการเปล่ียนของประชากรและครัวเรือนในอนาคต และควรท่ีจะสนับสนุนภาคเอกชนและองคกรใหแสวงหากําไรเขามามีสวนรวมจัดบริการดูแลระยะยาวอยางมีคุณภาพ โดยเฉพาะอยางยิ่งบริการจัดสงผูดูแลผูสูงอายุและบริการดูแลผูสูงอายุเฉพาะในชวงเวลากลางวัน

Pootrakool, Ariyapruchya, and Sodsrichai (2005) เปนการศึกษาถึงปจจัยท่ีมีสวนกําหนดการออมในระดับครัวเรือนของไทย จากการประมาณคาทางเศรษฐมิติพบวา ระดับการออมของครัวเรือนจะเพิ่มข้ึนตามรายได จํานวนผูมีรายไดในครัวเรือน และความสามารถในการเขาถึงสถาบันการเงิน ในทางตรงกันขามการออมของครัวเรือนจะลดลงหากสมาชิกในครัวเรือนเปนสมาชิกกองทุนประกันสังคมหรือกองทุนบําเหน็จบํานาญของรัฐ รวมถึงการไดรับสิทธิ 30 บาทรักษาทุกโรค นอกจากนั้น การออมของครัวเรือนซ่ึงอยูในรูปตัวเงินจะลดลงเม่ือครัวเรือนมีการออมผานสินทรัพยคงทน เชน การมีบานเปนของตนเอง และท่ีนาสนใจการศึกษาพบวา ขนาดของครัวเรือนมีความสัมพันธในทิศทางตรงกันขามกับระดับการออม ท้ังนี้ผูวิจัยใหเหตุผลวาเนื่องจากสมาชิกในครัวเรือนสามารถชวยเหลือแบงปนกันไดหากมีส่ิงท่ีไมคาดคิดเกิดข้ึนกับคนในครัวเรือน ดังนั้น ความตระหนักและความจําเปนในการออมเพื่อเปนหลักประกันในการรักษาระดับการบริโภคภายในครัวเรือนจึงลดลง